พลวง

พลวง คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb พลวงเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มี 4 อัญญรูป ที่มีความเสถียรจะเป็นโลหะสีฟ้า พลวงที่มีสีเหลืองและดำจะเป็นอโลหะที่ไม่เสถียร พลวงใช้ประโยชน์ในการทำสีเซรามิก สารเคลือบผิว โลหะผสม อิเล็กโทรดและยาง แร่พลวงที่พบส่วนใหญ่เป็นแร่พลวงซัลไฟด์ คือแร่สติบไนต์ (stibnite สูตรเคมี Sb2S3) หรือที่เรียกว่า แร่พลวงเงิน และแร่พลวงไฮดรอกไซด์ คือแร่สติบิโคไนต์ (stibiconite สูตรเคมี Sb2O4H2O หรือที่เรียกว่าแร่พลวงทอง  การกำเนิด  แร่พลวงเกิดขึ้นได้ทั้งในหินชั้นหินแปร และหินอัคนี มีการเกิดแหล่งแร่ที่สำคัญ 2 แบบ คือ  1) แบบสายแร่และแบบกระเปาะแร่ (cavity filling type) เนื่องจากน้ำแร่พลวงมีอุณหภูมิการตกผลึกค่อนข้างต่ำ จะไหลแยกออกไปจากหินอัคนี ซึ่งเป็นต้นกำเนิด แทรกตามรอยแตกหรือโพรง หรือเขตที่เกิดการชะล้างได้ง่าย (weak zone) ในหินต่าง ๆ ที่สัมผัสหรืออยู่ใกล้เคียงกับหินอัคนี น้ำแร่พลวงจะตกผลึกเป็นแร่พลวงเงินตามรอยแตกหรือโพรงหินนั้น และเมื่อแร่พลวงเงินนี้ผุก็จะเกิดเป็นแร่พลวงทอง แหล่งแร่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยและของโลกจะมีกำเนิดแบบกระเปาะแร่  2) ลานแร่พลัด เกิดจากการผุพังของสายแร่หรือกระเปาะแร่ แร่ถูกพัดพาไปสะสมตัวในที่ราบที่อยู่ไม่ไกลจากแหล่งต้นกำเนิดเดิมมากนัก แร่ที่พบมีทั้งแร่พลวงเงินปนกับแร่พลวงทอง  แหล่งในประเทศ  แหล่งพลวงที่สำคัญพบในจังหวัดลำพูน ลำปาง ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี นอกจากนี้ยังพบแร่พลวงอีกหลายแห่งในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ แพร่ ตาก สุโขทัย กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสตูล  ผลผลิต  การทำเหมืองแร่พลวงเริ่มต้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการผลิตจากแหล่งแร่สำคัญในจังหวัดแพร่ ลำปาง และสุราษฎร์ธานี จังหวัดที่เคยเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ  ของประเทศ คือ จังหวัดแพร่ ลำปาง ลำพูน กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี และสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังเคยมีการผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา สุโขทัย ตาก และนครศรีธรรมราช ปัจจุบันจังหวัดที่ยังมีการผลิตอยู่บ้าง ได้แก่ กาญจนบุรี ลำปาง ลำพูน แพร่ และสตูล  ผลผลิตสินแร่พลวงของประเทศในปี 2539 – 2541คือ 149; 125 และ 442 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2.3; 1.9; และ 6.7 ล้านบาท ตามลำดับ  ประโยชน์  สินแร่พลวงถลุงได้โลหะพลวง ใช้ในการทำโลหะผสม โดยผสมกับโลหะตะกั่วทำแผ่นกริดแบตเตอรี่ ผสมตะกั่วและดีบุกในการทำตะกั่วตัวพิมพ์ และโลหะบัดกรีบางชนิด ใช้เป็นส่วนประกอบของกระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ ยาง ผ้าทนไฟ และในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ นอกจากนี้ยังใช้ในการหุ้มสายโทรศัพท์ สายไฟขนาดใหญ่ ทำหมึกโรเนียว อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ หลอดยาสีฟัน สี และยารักษาโรค

ที่มา: วิกิพีเดีย และ กรมทรัพยากรธรณี

สารมลพิษทางอากาศ

สารก่อมะเร็งในอากาศ

สารก่อการกลายพันธุ์ในอากาศ

โลหะหนัก

จุลินทรีย์ในอากาศ

สารมลพิษทางอากาศภายในอาคาร

สารมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร