ไดออกซิน

Dioxins เป็นสารที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประจำตลอดมา เป็นผู้ต้องสงสัยที่ชัดเจน ในหมู่สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งหลาย และยังเป็นกลุ่มสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต dioxins มีความคงตัวสูง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสามารถละลายในไขมันได้ดี และจะมีวงจรครี่งชีพอยู่ได้นานถึงประมาณ 7 ปี และเมื่ออยู่ในธรรมชาติ Dioxins จะเข้าไปสะสมอยู่ในวงจรห่วงโซ่ของอาหาร เมื่อวงจรห่วงโซ่ของอาหารชนิดใดที่ Dioxins เข้าไปอยู่ อาหารชนิดนั้นก็จะมีความเข้มข้นของ Dioxins สูง

Dioxins มีชื่อทางเคมีว่า 2,3,7,8 tetrachlorodibenzo-para-dioxin (TCDD) นอกจากนี้ Dioxin ยังใช้เรียกกลุ่มสารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างเกี่ยวข้องกับ สารพวก polychlorinated dibenzo-para-dioxins (PCDDs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) และ polychlorinated biphenyls (PCBs) ซึ่งสารในกลุ่ม Dioxins ทั้งหมดนี้ มีอยู่ประมาณ 419 ชนิด แต่จะมีเพียง 30 ชนิด ที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิต โดยที่กลุ่ม TCDD จะมีพิษมากที่สุด

เราจะพบ Dioxins ได้ในที่ใด ?

Dioxins เป็นผลิตผลส่วนเกินที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรมหลายชนิด และเกิดขึ้นได้จากขบวนการต่างๆ ตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ และไฟป่า นอกจากนี้ ยังเกิดขึ้นได้จากการเผาสารสารอินทรีย์ที่มี chlorine เป็นองค์ประกอบ หรือจากโรงงานถลุงแร่ ฟอกสีกระดาษ และโรงงานผลิตสารเคมีฆ่าวัชพืชและแมลง และกิจกรรมที่ถูกตำหนิมากที่สุดได้แก่การเผาขยะ เนื่องจากมักจะเกิดการเผาไห้มที่ไม่สมบูรณ์

Dioxins จะถูกพบได้ทั่วไปบนพื้นโลก อยู่ในสื่อทุกชนิด ทั้งในอากาศ ในดิน ในน้ำ ในตะกอนต่างๆตามธรรมชาติ และในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาหารจากนม เนื้อสัตว์ ปลา และหอย บางครั้งจะพบสาร Dioxins ในปริมาณสูงสุดในดินบางแห่ง ในตะกอน และในสัตว์ แต่ในน้ำ และในอากาศจะพบในปริมาณค่อนข้างต่ำ
น้ำมันที่ใช้แล้วจากโรงงาน มี Dioxins ในระดับสูง จะพบกระจายอยู่ทั่วไปในโลก ซึ่งถ้าสะสมไว้นานๆ อาจเกิดการรั่วไหลของ Dioxins สู่สิ่งแวดล้อมและไปปนเปื้อนสู่มนุษย์ และปศุสัตว์ได้ และ Dioxins ไม่สามารถกำจัดโดยไม่ให้เกิดการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ได้โดยง่าย

วิธีการกำจัดสาร Dioxins ที่ดีที่สุดคือ การเผา โดยใช้อุณหภูมิสูงกว่า 850 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นสารที่มีการปนเปื้อน จะต้องใช้อุณหภูมิ สูงกว่า1,000 องศาเซลเซียส
Dioxins ถูกพบในปริมาณสูงในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม และไข่ จากประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งคาดว่าเกิดจากอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์

ได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบของ Dioxins ในกลุ่ม TCDD ต่อสุขภาพ เนื่องจากพบว่า เป็นผลผลิตส่วนเกินในสารฆ่าวัชพืชที่เรียกว่า “ฝนเหลือง” หรือ Agent Orange ที่ใช้ในสงครามเวียตนาม และเกิดรั่วไหลของสารเคมีในโรงงานที่ Seveso ในประเทศ Italy ในปี คศ. 1976 และเมื่อเร็วๆนี้ ก็เกิดการรั่วไหลในตอนใต้ของ สหรัฐอเมริกา ในปี 1977 นอกจากนี้ ยังเคยตรวจพบว่า เนื้อไก่ ไข่ และปลาcatfish มีการปนเปื้อนสาร Dioxins จากส่วนผสมของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ bentonite clay ซึ่งเป็นดินที่พบตามธรรมชาติ มีแร่ธาติที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ขุดจากเหมืองซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการฝังขยะที่มีพิษ จึงสรุปว่าอาจเกิดสาร Dioxins ปนเปื้อนในbentonite ดังกล่าว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การปนเปื้อนของ Dioxins พบอยู่ทั่วโลก ส่วนมากมักมีรายงานจากประเทศผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทั้งๆที่มีระบบควบคุม ป้องกัน ที่ดี และมีระบบการตรวจสอบการรั่วไหล และการปนเปื้อนที่มีประสิทธิภาพ

พิษของ Dioxins ต่อมนุษย์

ถ้ามนุษย์ได้รับสาร Dioxins ในปริมาณสูงในระยะแรกๆ จะเกิดการทำลายที่ผิวหนัง เช่น เป็นผื่น และไหม้ดำขึ้น จากนั้น จะมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของตับในระยะยาวต่อมา และมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธ์ ถ้าได้รับสาร Dioxins เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิด สาร TCDD ได้ถูกประเมินจากสถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างชาติ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC ในปี 1977 โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาของมนุษย์ สรุปว่า dioxins เป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าได้รับในปริมาณที่มากพอ แต่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพันธุกรรม และถ้าได้รับ dioxins ในปริมาณที่น้อย จะไม่มีผลต่อการก่อมะเร็ง พบว่าทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด จะไวต่อสาร dioxins มากที่สุด ในกลุ่มคนบางจำพวก อาจมีโอกาสได้รับสาร dioxins มากเนื่องจากอาหารที่รับประทาน เช่น ปลา ในบางพื้นที่ของโลก หรือในสถานที่บางแห่ง เช่น คนงานในโรงงานกระดาษ ในโรงงานเผาถ่าน หรือในโรงงานกำจัดของเสีย การประเมินความเสี่ยงของผู้บริโภค จะประเมินแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ขึ้นอยู่กับจำนวน ระดับของการปนเปื้อน และปริมาณประชากรที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลระดับปริมาณของ dioxin ที่ปนเปื้อนในอาหาร จำนวนของอาหารที่มีการปนเปื้อน และระยะเวลาของการได้รับสาร dioxin ทั้งหมดนี้ จะใช้เป็นข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงในแต่ละกรณี และจะถูกใช้ในการวางแผนการจัดการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ข้อมูลของค่า Tolerable Daily Intake (TDI) จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในแผนความปลอดภัยระยะยาว ค่า TDI คำนวนจาก ระดับของการได้รับ dioxin ในช่วงระยะเวลาหนึง และ ระดับการสะสม dioxin ในร่างกาย

เราจะป้องกันประชาชนจากสาร dioxins ได้อย่างไร

ประเมินได้ว่า ประมาณ ร้อยละ 90 ของคนที่ได้รับ dioxins นั้น ได้รับจากอาหาร ที่บริโภค จึงมีผลกระทบต่อระบบการป้องกันความเสี่ยงของวงตจรห่วงโซ่อาหาร นับตั้งแต่จากฟาร์มปศุสัตว์จนถึงปากของผู้บริโภค ดังนั้นการประกันความปลอดภัยของอาหารจาก dioxins จึงเป็นขบวนการที่ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ผลิตผลการเกษตร จนจบลงที่การบริโภค การควบคุมที่ดี ระหว่างการดูแลผลิตผลในระยะเริ่มต้น ขบวนการแปรรูป การกระจายผลิตผล การรอจำหน่าย ทุกขั้นตอนมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของอาหาร ระบบขั้นตอนการควบคุมการปนเปื้อน จะต้องทำให้เกิดความั่นใจว่าจะไมมีสาร dioxins ปนเปื้อน หรือถ้ามีก็ต้องไม่เกินระดับที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการปนเปื้อน จะต้องเตรียมแผนการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะตรวจสอบ ยับยั้ง และทำลายอาหารที่ไม่ปลอดภัยเหล่านั้น และประชาชนที่สัมผัสกับอาหารที่เกิดการปนเปื้อนแล้ว จะต้องได้รับการตรวจเช็คการได้รับสารโดยการตรวจเลือด โดยเฉพาะเลือดของมารดาที่ให้นมบุตร

ผู้บริโภคจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการได้รับสาร dioxins ได้อย่างไร

ถึงแม้ว่าการระมัดระวังในการเลือกรับประทานโดยลดอาหารที่มีไขมันสัตว์ อาหารจำพวกนมเนย อาหารสุกๆดิบๆ แล้วก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารอย่างสมดุลย์ (ผลไม้ ผักสด และธัญญพืช) จะช่วยหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงต่อการได้รับสาร dioxins จากอาหารดังกล่าวได้

การวิเคราะห์ และตรวจวัดหาสาร dioxins ในสิ่งแวดล้อม และในอาหาร

การตรวจวิเคราะห์สาร dioxins จะต้องใช้วิธีการที่ละเอียดอ่อนมาก จึงมีห้องปฏิบัติการเพียงประมาณ 100 แห่งทั่วโลก ที่สามารถตรวจวัดการปนเปื้อนของสาร dioxins ในตัวอย่างที่เก็บจากสิ่งแวดล้อม (เช่น เถ้าถ่าน ดิน น้ำ) และสำหรับในอาหาร จะมีห้องปฏิบัติการเพียงประมาณ 20 แห่ง ทั่วโลก ที่เชื่อถือได้ในผลการตรวจวัดระดับ dioxins ในสารอินทรีย์ (เช่น ในเลือดมนุษย์ หรือในน้ำนมมารดา) ซึ่งห้องปฏิบัติการเหล่านี้มักจะตั้งอยู่ในประเทศที่ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งราคาค่าตรวจวิเคราะห์แพงมาก ตั้งแต่ 1,200 – 10,000 USD

หลักในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากสาร dioxins คือ การลดการบริโภคอาหารที่มีสาร dioxins ปนเปื้อน ระดับของ dioxins ที่มนุษย์สามารถรับได้ต่อวัน (Tolerable Daily Intake หรือ TDI ) ปัจจุบัน ถูกลดจาก 10 เหลือ เพียง 1 – 4 picogrammes/Kg body weight และในประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงสูง จะตกอยู่ประมาณ 1 – 3 picogrammes / Kg body weight (1 picogram = 10-12gram)

ที่มา กลุ่มงานวิจัย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

สารมลพิษทางอากาศ

สารก่อมะเร็งในอากาศ

สารก่อการกลายพันธุ์ในอากาศ

โลหะหนัก

จุลินทรีย์ในอากาศ

สารมลพิษทางอากาศภายในอาคาร

สารมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร