กลับ

ซัลเฟอร์ ไดออกไซด์

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ไวไฟที่ระดับความเข้มข้นสูง จะมีกลิ่นฉุนแสบจมูกเมื่อทำปฎิกริยากับก๊าซออกซิเจน ในอากาศจะเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์และจะรวมตัวเป็นกรดกำมะถัน เมื่อมีความชื้นเพียงพอ หากอยู่ร่วมกับอนุภาคมวลสารที่ มีตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น มังกานีส เหล็ก และวานาเดียม จะเกิดมีปฏิกิริยาเติมออกซิเจนเกิดเป็นซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ และเป็นกรดกำมะถันเช่นกัน การสันดาปเชื้อเพลิงเพื่อใช้พลังงานในการดำรงชีพของมวลมนุษย์ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และอนุภาคมลสาร กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทั้งสองเช่นกัน ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ และละอองกรด กำมะถัน ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ก๊าซนี้ยังทำให้น้ำฝนที่ตกลงมามีสภาพ ความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศน์ ป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึงการกัดกร่อนอาคารและโบราณสถานอีกด้วย 

อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
การเข้าสู่ร่างกายของก๊าซสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสูดดมก๊าซ  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอยู่ในรูปสารซัลไฟด์ (sulfite ion) ไปซัลไฟท์ (bisulfite)  และไฮโครเจน ( hydrogen) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ  เกิดสภาะวะเป็นกรดในเลือด

อาการแบบเฉียบพลัน  การสัมผัสผิวหนังทำให้เกิดระคายเคือง  กัดกร่อนผิวหนัง   ผิวหนังไหม้ การสัมผัสตา ทำให้เกิดระคายเคืองตา อาจกัดกร่อนเยื่อบุตาจนทำให้เกิดแผลและเป็นผลให้การมองเห็นผิดปกติได้  การหายใจ เนื่องจากก๊าซละลายน้ำได้ดี จะทำให้ถูกดูดซึมที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน  ส่งผลให้เกิดกระตุ้นให้หลอดลมหดตัวและมีการหลั่งน้ำเมือก เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและคอ  ไอ  หายใจลำบาก หลอดลมตีบแคบ ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำจนเกิดการขาดออกซิเจนในเลือด อาจเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้

อาการแบบเรื้อรัง การสัมผัสเป็นระยะเวลานานทำให้การดมกลิ่นเสียไป  เกิดการทำลายเกิดการทำลายหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด  เกิดอาการหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบอย่างเรื้อรัง

ที่มา กรมควบคุมโรค 

สำนักอามัย กรุงเทพมหานคร

สารมลพิษทางอากาศ

สารก่อมะเร็งในอากาศ

สารก่อการกลายพันธุ์ในอากาศ

โลหะหนัก

จุลินทรีย์ในอากาศ

สารมลพิษทางอากาศภายในอาคาร

สารมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร