มลภาวะทางอากาศภายในอาคาร

อากาศพิษ หรือภาวะมลพิษทางอากาศอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาวะมลพิษในอาคาร (indoor air pollution) และภาวะมลพิษนอกอาคาร (atmospheric หรือ outdoor air pollution)

จะกล่าวเฉพาะภาวะมลพิษทางอากาศหรืออากาศพิษภายในอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยไม่รวมอากาศพิษภายในโรงงานและสถานที่ ประกอบการต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดไว้เป็นภาวะมลพิษเกี่ยวกบอาชีพ

เป็นที่ทราบกันดีว่า อากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเราเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต มนุษย์ต้องหายใจอากาศที่อยู่รอบๆ ตัว เพื่อเติมออกซีย์เจน ให้กับ เลือดดำนำไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะทั่วร่างกาย และพร้อมกันนั้นก็นำคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากการเผาผลาญใช้อาหารเป็นพลังงานในร่างกายที่ออกมาจากเลือดและนำออกไปทิ้งภายนอกร่างกาย ดังนั้นถ้าขาดอากาศหายใจมนุษย์ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อากาศบริสุทธิ์ในระดับน้ำทะเลมีปริมาตรส่วนออกซีย์เจนประมาณร้อยละ 21 และส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03 ซึ่งน้อยมากจนนับได้ว่ามีค่าเป็น 0

ในยุคปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยิ่งมากขึ้น สภาวะธรรมชาติที่เคยเป็นในสมัยก่อนได้แปรเปลี่ยนไปอย่างมาก แหล่งอากาศบริสุทธิ์กำลังจะหมดไปอย่างรวดเร็ว อาณาบริเวณที่เต็มไปด้วยสารมลพิษจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการละเลยและความมักง่ายของมนุษย์ ก็กำลังขยายตัวแผ่กว้างออกไปทุกที จนเชื่อได้ว่าในไม่ช้าสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจจะต้องสูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแว ดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน นอกจากว่าสิ่งมีชีวิตจะสามารถปรับสายพันธุ์เสียใหม่ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารมลพิษต่างๆ ที่สายพันธุ์ปัจจุบันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้

โดยเหตุผลเดียวกับที่กล่าวข้างต้น อากาศหายใจในอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันอาจได้รับการปนเปื้อนด้วยสารมลพิษ ซึ่งทำให้มีผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยได้

สารมลพิษภายในอาคารที่มีศักยภาพเป็นผลร้ายต่อมนุษย์ ได้แก่

  1. -ชีวสาร (biological agents)
  2. -ผลผลิตจากการเผาไหม้ (combustion pro­ducts)
  3. -ควันยาสูบ (บุหรี่)ในอากาศแวดล้อม (envi­ronmental tobacco smoke)
  4. -ฝุ่นใยต่างๆ (fibers)
  5. -ฟอร์มัลดีฮัยด์ (HCHO) และสารประกอบ อินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compounds) อื่น
  6. -ก๊าซเรดอน

ชีวสาร

ชีวสารหลายชนิดที่ปนเปื้อนอากาศภายในอาคารสามารถก่อโรคได้โดยกลวิธานทางอิมมูน การติดเชื้อ หรือเป็นพิษโดยตรง

  1. -สารมลพิษที่เป็นโปรเทอินต่างถิ่น (foreign proteins) จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ระบบการหายใจ เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืดหลอดลม โรค ปอดอักเสบภูมิไวเกิน
  2. -ชีวสารประเภทจุลชีพจะก่อกลุ่มอาการต่างๆ มีความรุนแรงตั้งแต่ไม่สบายคลุมเครือ ครั่นเนื้อครั่นตัว จนถึงโรคอักเสบติดเชื้อในทางเดินอากาศ หายใจ
  3. -สารชีวพิษ (biological toxins) ที่เกิดจากการมีจุลชีพเจริญอยู่ในมัชฌิมอินทรีย์ที่เหมาะ เช่นสารพิษจากเชื้อรา Aspergillus flavus เป็นสารก่อมะเร็งตั, สารพิษจากแบคทีเรียแกรมลบทำให้เกิดท็อกซิน ท็อกซิโคสิส สารพิษจาก Stachebotry เกิด ทริโฆธีศีน ท็อกซิโคสิส ฯลฯ

โรคภูมิแพ้ระบบการหายใจ

ผู้อยู่อาศัยในอาคารที่มีศักยภาพภูมิไวเกินแบบทันควัน (atopic persons) เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (ตารางที่ ๑) ซ้ำๆ ก็จะเกิดโรคโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหืดหลอดลม โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นร่วมกันได้ แม้ผู้ที่ไม่มีศักยภาพภูมิไวเกิน แต่หากได้สัมผัสสารบางอย่างซํ้าๆ เช่น ทอลิวอีน ไดไอโสศัยอะเนต (toluene diisocyanate) หรือ เกสรจากต้น เศดาร์ แดง (western red cedar)