โอโซน (ภาคพื้นดิน) 

โอโซน  คือ รูปหนึ่งของก๊าซออกซิเจนที่มีพลัง (Active Oxygen) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเคชั่นกับสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ได้เกือบทุกชนิด มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรงและเร็วกว่าคลอรีนถึง 3,125 เท่า โอโซนจะเข้าไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อน และทำการแยกย่อยสลาย โดยการเปลี่ยนโครงสร้างของสารนั้น หลังทำปฏิกิริยา โอโซนจะแปรสภาพกลับเป็นก๊าซออกซิเจน แต่โอโซนมีคุณสมบัติเฉพาะที่มีความเข้มข้นมาก  สามารถทำปฏิกิริยากับร่างกายได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เมื่อหายใจเข้าไป โอโซนจะทำอันตรายต่อปอด แม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยโอโซนสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจไม่ออก เจ็บคอ ระคายเคืองคอ  โอโซนสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอย่างเรื้อรัง  อย่างเช่น โรคหอบ  นอกจากนั้นโอโซนยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดลง  ผลกระทบต่อผู้ใช้ขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคนและปริมาณโอโซนที่จะได้รับ  ในคนที่แข็งแรงก็เช่นเดียวกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจสามารถมีปัญหาในการหายใจได้เมื่อได้รับโอโซนมากๆ  และหากได้รับต่อเนื่องจนทำ ให้เกิดการสะสมของร่างกายก็จะยิ่งทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่ฟื้นตัวได้ยาก หรือจนกลายเป็นโรคประจำตัว โดยในธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์จะมีค่าออกซิเจน 2 อะตอม แต่ในก๊าซโอโซนจะมีค่าออกซิเจนถึง 3 อะตอม ซึ่งเข้มข้นมากกว่าอากาศปกติทั่วไป ผลกระทบต่อสุขภาพ
ผู้ที่ได้รับโอโซนมากจนเกินไป หรือสะสมในระยะเวลานาน จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
ปอดมีประสิทธิภาพน้อยลง
มีปัญหาหอบหืด
ระคายเคืองคอ ไอ
เจ็บหน้าอกหายใจไม่ออก
ปอดอักเสบ
ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

วลีว่า  “อยู่ข้างบนดี  อยู่ใกล้ ๆ ร้าย”   โอโซนจะเป็นพระเอกเมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศในชั้น “Stratospheric Ozone” (สูงจากพื้นโลก 15-50 กม.) จะมีประโยชน์มากเพราะโอโซนช่วยปกป้องโลกนี้จากรังสี UV  แต่ถ้าโอโซนอยู่ในชั้นบรรยากาศพื้นโลกในระดับเดียวกับที่เราหายใจ  โอโซนเป็นผู้ร้ายอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ  นอกจากนี้โอโซนในระดับเดียวกับพื้นโลกสามารถทำปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์ร่วมกับสารเคมีที่ถูกปล่อยออกมาจากรถยนต์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรมมาทำอันตรายต่อเราได้  มีบ่อยครั้งที่โอโซนเหล่านี้ร่วมกับมลภาวะอื่น ๆ ได้แก่  ไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ ฝุ่น และฝุ่นของไฮโดรคาร์บอนด์  ทำให้เกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้
ที่มา C-airFog (Thailand)

สารมลพิษทางอากาศ

สารก่อมะเร็งในอากาศ

สารก่อการกลายพันธุ์ในอากาศ

โลหะหนัก

จุลินทรีย์ในอากาศ

สารมลพิษทางอากาศภายในอาคาร

สารมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร