มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติ ทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ เมื่อสะสมเป็นเวลานานพอ ส่วน สารเจือปน หมายถึง สารมลพิษอันประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(Sulfur Dioxide) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน(Oxide of Nitrogen) ก๊าซโอโซน(Ozone) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน(Hydrogen compound) สารตะกั่ว(Lead) ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน(PM10) และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน(PM2.5)
ปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าวิตก แต่ขาดการตะหนักถึงความสำคัญจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น จากการตรวจวัดพบปริมาณฝุ่นควัน และก๊าซมลพิษมีค่าเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะก๊าซโอโซนและคาร์บอนมอนอกไซด์หรือบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุมาจากการเพิ่มจำนวนของรถยนต์และยานพาหนะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินมาตรฐานจัดได้ว่าเป็นปัญหาหลักและรุนแรงที่สุด นอกจากนี้ปริมาณก๊าซโอโซนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ิเกินมาตรฐานบริเวณริมถนนก็ยังเป็นปัญหาสำคัญไม่แพ้กัน
นอกจากโรงงานอุตสาหกรรมจะการปล่อยอากาศเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วการเผาไร่นาและเผาป่ายังเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญ ในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดข้างเคียง เนื่องจากที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบแอ่งกระทะอากาศหมุนเวียนน้อย
มลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพโดยตรง ซึ่งอาจจะส่งผลทันทีหรือส่งผลในระยะยาวได้ เมื่อเราหายใจเอาสารพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ สารพิษจะแพร่กระจายจากปอดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดเข้าขัดขวางการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและโรคภัยต่างๆ และอาจจะเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอดได้เลยนะคะ
แหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศออกได้เป็น 3 แหล่ง คือ มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ธรรมชาติ และจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ทั้งมนุษย์และธรรมชาติ โดยแต่ละแหล่งจะทำให้เกิดสารมลพิษที่แตกต่างกันออกไป
1.1 แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน หรือดีเซล โดย รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารพิษสําคัญได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกํามะถัน สารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ 55 % ออกมาจากท่อไอเสีย 25 % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก 20 % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย ซึ่งพิษต่อมนุษย์โดยตรง
1.2 แหล่งกำเนิดที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง เป็นแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดสารมลพิษทางธรรมชาติ โดยไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์แต่อย่างใด
เกิดจากการรวมตัวทางปฏิกิริยาเคมีจากแหล่งต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือธรรมชาติโดยตรง เช่น ปฏิกิริยาโฟโตเคมิคอล (Photochemical reaction) เป็นปรากฏการณ์มลพิษทางอากาศ ที่เกิดขึ้นในขณะที่อากาศ มีปริมาณไนโตรเจนไดออกไซด์ และ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ในปริมาณที่สูง ร่วมกับมีแสงแดดจ้า โดยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อถูกแสงแดดกระตุ้น จะเกิดการแตกตัวเป็น ออกซิเจนอะตอมเดี่ยว ซึ่งจะกลายเป็นก๊าซพิษในที่สุด หรือ Smog (หมอกควันมาจากการผสมคำว่า smoke + fogเข้าด้วยกัน) เป็นยังไงกันบ้างคะ ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ถ้าพูดถึงมลพิษแล้วจะต้องนึกถึงฝีมือมนุษย์ แต่ในความเป็นจริง สามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติด้วย รู้อย่างนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่เราควรเริ่มลงมือทำ นอกจากจะช่วยกันลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ก่อมลพิษ แล้ว เราต้องรู้จักการป้องกันตัวเราเองให้ปลอดภัยจากมลพิษที่เราสูดดม เข้าไปทุกวันด้วยค่ะ โดยเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ดี
ที่มา: holismedicare